วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

~โรคงูสวัด~


โรคงูสวัด (Herpes zoster) โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ "วีแซดวี" (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับ โรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัดจะต้องเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลงจึงกลายเป็นโรคงูสวัดและโรคงูสวัดจะเป็นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นในชีวิตนี้ ซึ่งต่างกับโรคเริมที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก (ยกเว้น ผู้ที่มีความต้านทานต่ำมาก ๆ เช่น เอดส์อาจกลับมาเป็นโรคงูสวัดซ้ำได้อีก)
อาการ
จะมีอาการปวดมากเจ็บแสบร้อนบางคนคันร่วมด้วยเป็นไข้ได้ บางคนปวดจนทรมานมาก นอนไม่หลับ กลุ่มของตุ่มน้ำในนี้จะเริ่มแห้ง และตกสะเก็ดจางหายไปใช้ระยะเวลาประมาณ 7-14 วัน
ลักษณะผื่น
ระยะแรกจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน หรือคันบริเวณที่เป็น ต่อมา 1-2 วัน จะเห็นมีกลุ่มของตุ่มน้ำใสเกิดขึ้น อยู่บนพื้นผิวหนังที่มีสีแดง และกลุ่มของตุ่มน้ำใสนี้จะวางเรียงตัวกันเป็นเส้นตามแนวของเส้นประสาทที่ผิวหนัง (ตามแนว dermatome) เพราะฉะนั้น จะเห็นเป็นทางขวางตามลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง รอบเอว ตามแนวเส้นประสาทตามยาวที่แขนและขา หรือตามแนวเส้นประสาทที่บริเวณใบหน้า นัยน์ตา หู ศีรษะ เป็นต้น งูสวัด ไม่สามารถจะพันตัวเรา จนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น ในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเข้ามาแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่ง ของร่างกาย (ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น
โรคเอดส์ เป็นต้น ถ้าเกิดเป็นงูสวัด ก็อาจเป็นข้ามแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกายได้ หรือเป็นงูสวัดทั่วร่างกายได้)
อาการต่อเนื่อง
อาการปวดตามแนวเส้นประสาทระยะจากที่โรคงูสวัดหายแล้ว (post herpetic neuralgia) คืออาการปวดเจ็บแสบร้อนตามแนวเส้นประสาทนี้ ถึงแม้ว่า ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการปวดแสบร้อนอยู่ บางท่านเป็นอยู่หลายเดือนทำให้ทรมานพอสมควร มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
อาการแทรกซ้อน
สำหรับอาการแทรกซ้อนที่สำคัญคือ อาการปวดเกิดขึ้นภายหลังจากผื่นหายหมดแล้ว มักเกิดกับผู้สูงอายุที่เป็นงูสวัดบริเวณประสาทสมองคู่ที่ 5 อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผื่น หรือโรคแทรกซ้อนทางตา เช่นตาอักเสบ เส้นประสาทตาอักเสบ หรือ แผลที่กระจกตา ในกรณีของผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดอิมมูน อาจมีการกระจายของผื่นทั่วตัวได้ แพทย์บางท่านอาจจะให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสชนิดรับประทานเป็นเวลาประมาณ 5-10 วันร่วมด้วย ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
วิธีการรักษา
1.รักษาตามอาการคือ กินยาระงับอาการปวด อาการคัน เช่น พาราเซตามอล ไอดาแรค พอนสแตน คลอเฟนนิรามีน ฯลฯ
2.
ยาต้านไวรัส ซึ่งราคาค่อนข้างแพงมาก ควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ เฉพาะทางด้านผิวหนัง แต่ได้ผลดีมาก ช่วยระงับอาการได้รวดเร็ว และทำให้ระยะเวลา ของโรคสั้นลง เช่น กลุ่มยาอะไซโคลเวียร์ โซวิแรกซ์ วาลเทรกซ์ แฟมซิโคลเวียร์ ไวลิม ไวโรแรกซ์ เป็นต้น
3.ยาทากลุ่มฆ่าเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มยา
อะไซโคลเวียร์
4.ยาทาพวก
เสลดพังพอน ใช้ทาระงับอาการได้ดีพอสมควร ราคาไม่แพง

ไม่มีความคิดเห็น: